บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2559
ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาบทที่ 3 วันนี้ อาจารย์เริ่มคลาสด้วยการนำนักศึกษาร่วมทำกิจกรรมการสื่อความหมาย
สื่อด้วยท่าทาง สัญลักษณ์
สื่อด้วยวาจา คำพูด
สื่อด้วยการบอกใบ้ ท่าทางสัญลักษณ์และคำพูด
สื่อสาร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร
เนื้อหาบทที่ 3
การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
การสื่อสาร (Communication)
คือ
กระบวน
การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา
โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ
และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ
ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2
ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์
เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
รูปแบบของการสื่อสาร
•รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล
(Aristotle’s
Model of Communication)
•รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล
(Lasswell’s
Model of Communication)
•รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์
(Shannon
& Weaver’s Model of Communication)
•รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์
(C.E
Osgood and Willbur
Schramm’s )
•รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล
(Berlo’s
Model of Communication)
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร
(Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร
(Media)
4. ผู้รับข่าวสาร
(Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ผู้จัดกับผู้ชม
ผู้พูดกับผู้ฟัง
ผู้ถามกับผู้ตอบ
คนแสดงกับคนดู
นักเขียนกับนักอ่าน
ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน
สื่อ
ใช้วิธีพูด-เขียน
หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ
โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ
แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน
คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ
โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน
ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ
สาร
คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน
ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ
การล้อเลียน ความปรารถนาดี ความห่วงใย
มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1.
เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร
ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2.
เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง
การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด
สติปัญญา
ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
3.
เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง
การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร
ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร
และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ
มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า
วัตถุประสงค์ของการสื่อสารในแต่ละระดับมี จุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันไป
ซึ่งจะสำเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับทั้งฝ่ายผู้ส่งสารและฝ่ายผู้รับสาร
มีความต้องการที่สัมพันธ์กัน โดยรวมแล้วพอสรุปวัตถุประสงค์การสื่อสารได้ ดังนี้
1.
เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนำเสนอเรื่องราว
ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ หรือสิ่งอื่นใด
ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ
โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
2.
เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน
เป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ
3.
เพื่อชักจูงใจ คือ การนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ
สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตาม ที่ผู้ส่งสารต้องการ
และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
ประเภทของการสื่อสาร
ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก
ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1.
จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร
2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
การสื่อสารกับตนเอง
•การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ
•เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด
•บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง
•บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้
•อาจเป็นการปลอบใจตนเอง
การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ
การสื่อสารระหว่างบุคคล
•บุคคลตั้งแต่
2 คนขึ้นไป ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม
•เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคล
อาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
•อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น
•สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
การสื่อสารสาธารณะ
•มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน
•มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์
ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
•เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา
•เช่น
การบรรยาย การปาฐกถา การอมรม
การสอนในชั้นเรียน
การสื่อสารมวลชน
•ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ
•ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูง
รวดเร็ว กว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน
•ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ
•อาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้
การสื่อสารในครอบครัว
•เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์
•ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว
•คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ
•ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
•คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน
•ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ
การสื่อสารในโรงเรียน
•ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย
•เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการ
พื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต
•มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล
การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะ
•อาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมาก
•อาจมีโอกาสโต้แย้งถกเถียง
ควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์
•ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่
•ควรระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาท
•คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และการยอมรับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
•เริ่มด้วยการทักทายตามสภาพของสังคมนั้นๆ
•
การแสดงความยินดีหรือเสียใจ ไม่ควรมากหรือน้อยจนเกินไป
•
การติดต่อกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนควรพูดให้ตรงประเด็นและสุภาพพอควร
•
การคบหากับชาวต่างประเทศ ควรศึกษาประเพณีและมารยาทที่สำคัญๆของกันและกัน
ธรรมชาติและพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ออเออร์บาค
(Auerbach,1968)
ได้กล่าวถึงธรรมชาติของผู้ปกครองไว้ดังนี้
•
ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
•ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
•ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
•การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
•การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
•ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
•
การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง
ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ
ดังนี้
•เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
•เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
•เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
•เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
•ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
•เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย
พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ปกครอง
1.ความพร้อม คือ
สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้ โดยเตรียมความพร้อมในเรื่องดังนี้
พื้นฐานประสบการณ์เดิม สร้างความสนใจเห็นเห็นถึงความสำคัญของความรู้
ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการเรียนรู้
2.
ความต้องการ คือ
ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง
มีการศึกษาที่ดี
3. อารมณ์และการปรับตัว
คือ
แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มี 2 ประเภทคือ อารมณ์ทางบวก เช่น ดีใจ พอใจ ฯลฯ อารมณ์ทางลบ
เช่น โกรธ เสียใจ หงุดหงิด ซึ่งอารมณ์ทั้ง
2 นี้มีผลต่อการเรียนรู้
ดังนั้นควรปรับอารมณ์ให้เกิดความสมดุลพร้อมที่จะเรียนรู้
4.
การจูงใจ หมายถึง
การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เช่น
ต้องการรู้เพื่อแก้ปัญหาลูกหลาน ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก
ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี
5.
การเสริมแรง คือ
การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง เช่น คำชมเชย รางวัล ฯลฯ
6. ทัศนคติและความสนใจ
คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น -
จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้
-
ช่วงเวลาในการจัดให้ความรู้ ควรมีเวลาที่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรม
7.
ความถนัด คือ
ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
•ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี
เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
•ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
•ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์
ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
•ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
•เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
•รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป
ขาดการไตร่ตรอง
•ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน
หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
•อารมณ์ของผู้รับ
หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
•ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
7
c กับการสื่อสารที่ดี
•Credibility ความน่าเชื่อถือ :
สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
•Content เนื้อหาสาระ :
มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ
เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
•Clearly ความชัดเจน :
การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
•Context ความเหมาะสมกับโอกาส :
การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
•Channel ช่องทางการส่งสาร :
การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
•Continuity
consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน
: การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
•Clarity
of audience ความสามารถของผู้รับสาร
:
การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้
เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ
คุณธรรมในการสื่อสาร
•ความดีงามที่มีอยู่ในตัวบุคคล
•ต้องประกอบด้วยเหตุผลที่ดีของแต่ละบุคคล
•เกิดจากการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
•เกิดจากการได้เห็น
ได้ยิน ได้อ่าน
•เกิดจากการได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง
•ความมีสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
•ความรัก
ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน
•ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ
•เป็นพฤติกรรมด้านนอกของการสื่อสาร
หมายถึงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน เช่นกิริยาอาการ การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้ง รูปภาพ
แผนภูมิและการใช้วัตถุต่างๆ
•เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของสังคม
วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง
-ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
-พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา
และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
-พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
-หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา
เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
-ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
-มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
-เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม
การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ
ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน
ประกอบกับการศึกษาธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียนรู้
เพื่อที่จะได้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความศรัทธา
เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง
บ้านโรงเรียน
ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน
คำถามท้ายบทที่ 3
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิดทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร
1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ การสื่อสารช่วยให้ผู้ปกครองและครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลซึ่งกันและกัน และช่วยให้สามารถเข้าใจถึงเหตุการณ์ การจัดการเรียนรู้ของครูที่อยู่ในโรงเรียนและเป็นความเข้าใจตรงกันระหว่างครูและผู้ปกครอง
3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล เป็นการสื่อสารจากผู้ส่งสาร ที่ต้องมีความรู้และทักษะในการสื่อสาร สารต้องมีการจัดการเนื้อหาอย่างเป็นระบบดีแล้วเพื่อนำส่งต่อไปยังผู้รับ ผ่านทางช่องทางที่หลากหลาย เช่น ครูบอกคุณแม่ว่าพรุ่งนี้จะทำกิจกรรมคุ้กกิ้ง ให้คุณแม่เตรียมไข่ไก่มาให้น้อง 1 ฟอง เพื่อที่จะมาทำกิจกรรมคุ้กกิ้งกันในวันพรุ่งนี้
4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้
ผู้ปกครองมีความต้องการที่จะเรียนรู้
ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุดในสิ่งที่เขาสนใจ
การเรียนรู้จะมีความหมายที่สุดก็ต่อเมื่อเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวของผู้ปกครอง
การมีอิสระในการเรียนรู้จะทำให้ผู้ปกครองเรียนรู้ได้ดีที่สุด
ผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ได้จากกันและกัน
การให้ความรู้กับผู้ปกครองถือเป็นการให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ปกครอง
5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ 1.ความพร้อม คือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้
2. ความต้องการ คือ ความต้องการให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข
3. อารมณ์และการปรับตัว คือ แนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
4. การจูงใจ หมายถึง การกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
5. การเสริมแรง คือ การสร้างความพึงพอใจหลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้ปกครอง
6. ทัศนคติและความสนใจ คือ การที่บุคคลมีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกต่อสิ่งเร้า
7. ความถนัด คือ ความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้หรืออาจจะเป็นในอนาคตซึ่งหากเราเป็นครู เราจะมีวิธีการอย่างไรในการให้ความรู้สำหรับผู้ปกครอง มีวิธีการสื่อสารที่ดีและเข้าใจตรงกันเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ปกครองและครู อีกทั้งยังมีกิจกรรมสนุกๆที่เป็นการสื่อสารรูปแบบต่างๆนำไปใช้เป็นกิจกรรมสำหรับเด็กอีกด้วย
ประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม ฟังครูอธิบายเนื้อหา และเข้าใจเนื้อหา
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน อาจมีพูดคุยกันบ้าง บรรยากาศในห้องสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มาสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำ ทำให้บรรยากาศสนุกสนาน และอาจารย์คอยกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น